ยาทาแผลไฟไหม้

“ยาทาแผลไฟไหม้” ไอเทมที่ดีที่สุดของคนมีแผลไฟไหม้

                เชื่อว่าในช่วงชีวิตคนคนหนึ่งต้องเคยเห็นฉากในละครที่เอายาสีฟันหรือว่านหางจระเข้มาทาแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ซึ่งในความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าทั้งสองอย่างนั้นมันสะอาดพอหรือไม่ หากมีเชื้อโรคที่ตามองไม่เห็นมาปนเปื้อนแล้วล่ะก็ อาจทำให้แผลติดเชื้อขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลย ดังนั้นเมื่อเกิดแผลจึงควรใช้ยาทาแผลไฟไหม้ที่ผ่านการรับรองจากอย. เท่านั้น ถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ประเมินแผลก่อนใช้ยา

            จะใช้ยาให้ถูกอาการ ก็ควรประเมินอาการให้ถูกก่อน ว่ามีความหนักหรือความรุนแรงอยู่ในระดับไหน โดยทางการแพทย์ แบ่งความหนักของแผลไว้ 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่

1. แผลไหม้ระดับแรก

ถือเป็นระดับที่เบาที่สุด เพราะแผลจะอยู่ที่ชั้นผิวหนังกำพร้าเท่านั้น มีเพียงรอยแดงและอาการปวดแสบปวดร้อน แต่ไม่มีตุ่มพองเกิดขึ้น ซึ่งอาการ Sun burn หรือผิวไหม้แดดก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 7 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ (ยกเว้นมีการติดเชื้อ) ด้วยยาทาแผลไฟไหม้ที่ทาเฉพาะภายนอก  

2. แผลไหม้ระดับที่สอง

                มีทั้งชนิดตื้นที่เกิดกับหนังกำพร้าและหนังแท้ และชนิดลึกที่เกิดกับผิวชั้นลึกของหนังแท้ ซึ่งชนิดตื้นจะมีตุ่มพองเกิดขึ้น หากตุ่มลอกออกจะมีน้ำเหลืองซึมออกมา ทำให้ปวดแสบปวดร้อนได้ แต่ด้วยความที่แผลไม่ลึก จึงทำให้หายง่ายภายใน 2-3 สัปดาห์ และไม่ทิ้งแผลเป็น (ยกเว้นมีการติดเชื้อ) เหมาะกับการใช้ยาทาแผลไฟไหม้ที่ทาเฉพาะภายนอก

ส่วนแผลชนิดลึกอาการจะตรงข้ามกับแผลชนิดตื้น คือ ไม่ค่อยมีตุ่มพองและไม่ค่อยปวดแสบปวดร้อนเท่าไหร่ แต่จะทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ จำเป็นต้องรักษามากกว่า 3 สัปดาห์

3. แผลไหม้ระดับที่สาม

เป็นแผลไหม้ที่รุนแรงที่สุด เพราะทำลายทั้งหนังกำพร้า หนังแท้ และอาจกินลึกไปถึงกล้ามเนื้อหรือกระดูกด้วย ทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดใด ๆ เลย ซึ่งแผลจะมีสีขาวซีด เหลือง น้ำตาลไหม้ หรือดำ หนาแข็งเหมือนแผ่นหนัง และแห้งกร้าน ไม่สามารถรักษาให้หายเองด้วยยาทาแผลไฟไหม้ได้ ต้องไปพบแพทย์เพื่อผ่าตัดปลูกผิวหนังเท่านั้น

ข้อควรทำก่อนใช้ยา

  1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ
  2. ห้ามใช้ยาสีฟันหรือสมุนไพรมาทาแผล เพราะแผลอาจติดเชื้อได้
  3. ห้ามถูหรือแกะแผล
  4. หากปวดแผลสามารถกินยาพาราเซตามอลได้
  5. สำหรับแผลที่มีขนาดใหญ่ หลังจากล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วให้ซับแผลให้แห้งและคลุมด้วยผ้าสะอาดก่อนไปพบแพทย์

ยาทาแผลไฟไหม้ที่นิยมใช้กัน

  1. 1% ซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน (Silver Sulfadiazine) เช่น Silvex Cream, Silver Sulfadiazine, Sunderma Cream, Flamazine, Mephazine
  2. เจนทาไมซิน (Gentamicin) เช่น Gental Cream, Miramycin, Pharacin, Bactagen Cream, Eltacin 0.1%
  3. 1% คลอแรมฟินีคอล (Chloramphenicol) เช่น Unison Ointmen, Chloram Ointment, Pisalin Ointment, Seven Stars’ Chloram, Chlor-pyrad

ดูแลหลังแผลหาย

            เมื่อแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวกเริ่มหายแล้ว ก็อย่าพึ่งชะล่าใจแล้วละเลยการดูแลรักษาผิวหนังไป เพราะต้องไม่ลืมว่าความร้อนได้ทำให้ผิวหนังบางลง จึงควรระวังไม่ให้แผลถูกแสงแดดนานเกินไปในช่วง 3-6 เดือน และใช้น้ำมันหรือครีมโลชั่นทาผิวหนัง เพื่อลดอาการแห้งและคัน

                ผู้มีแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ควรเตือนตัวเองไว้เสมอว่าฉากในละครบางครั้งก็ไม่ได้สะท้อนมาจากความจริง และไอเทมที่ดีที่สุดสำหรับรักษาแผลคือ “ยาทาแผลไฟไหม้” ไม่ใช่ยาสีฟันหรือว่านหางจระเข้ นอกจากนั้น หากไม่มั่นใจว่าแผลของตัวเองรุนแรงระดับไหน ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อประโยชน์ในการรักษา ดั่งคำที่ว่า “ เลือกยาให้ถูกกับโรค”

                เชื่อว่าในช่วงชีวิตคนคนหนึ่งต้องเคยเห็นฉากในละครที่เอายาสีฟันหรือว่านหางจระเข้มาทาแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ซึ่งในความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าทั้งสองอย่างนั้นมันสะอาดพอหรือไม่ หากมีเชื้อโรคที่ตามองไม่เห็นมาปนเปื้อนแล้วล่ะก็ อาจทำให้แผลติดเชื้อขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลย ดังนั้นเมื่อเกิดแผลจึงควรใช้ยาทาแผลไฟไหม้ที่ผ่านการรับรองจากอย. เท่านั้น ถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ประเมินแผลก่อนใช้ยา             จะใช้ยาให้ถูกอาการ ก็ควรประเมินอาการให้ถูกก่อน ว่ามีความหนักหรือความรุนแรงอยู่ในระดับไหน โดยทางการแพทย์ แบ่งความหนักของแผลไว้ 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 1. แผลไหม้ระดับแรก ถือเป็นระดับที่เบาที่สุด เพราะแผลจะอยู่ที่ชั้นผิวหนังกำพร้าเท่านั้น มีเพียงรอยแดงและอาการปวดแสบปวดร้อน แต่ไม่มีตุ่มพองเกิดขึ้น ซึ่งอาการ Sun burn หรือผิวไหม้แดดก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 7 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ (ยกเว้นมีการติดเชื้อ) ด้วยยาทาแผลไฟไหม้ที่ทาเฉพาะภายนอก   2. แผลไหม้ระดับที่สอง                 มีทั้งชนิดตื้นที่เกิดกับหนังกำพร้าและหนังแท้ และชนิดลึกที่เกิดกับผิวชั้นลึกของหนังแท้ ซึ่งชนิดตื้นจะมีตุ่มพองเกิดขึ้น หากตุ่มลอกออกจะมีน้ำเหลืองซึมออกมา ทำให้ปวดแสบปวดร้อนได้ แต่ด้วยความที่แผลไม่ลึก จึงทำให้หายง่ายภายใน 2-3 สัปดาห์ และไม่ทิ้งแผลเป็น (ยกเว้นมีการติดเชื้อ) เหมาะกับการใช้ยาทาแผลไฟไหม้ที่ทาเฉพาะภายนอก ส่วนแผลชนิดลึกอาการจะตรงข้ามกับแผลชนิดตื้น คือ…

                เชื่อว่าในช่วงชีวิตคนคนหนึ่งต้องเคยเห็นฉากในละครที่เอายาสีฟันหรือว่านหางจระเข้มาทาแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ซึ่งในความจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าทั้งสองอย่างนั้นมันสะอาดพอหรือไม่ หากมีเชื้อโรคที่ตามองไม่เห็นมาปนเปื้อนแล้วล่ะก็ อาจทำให้แผลติดเชื้อขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลย ดังนั้นเมื่อเกิดแผลจึงควรใช้ยาทาแผลไฟไหม้ที่ผ่านการรับรองจากอย. เท่านั้น ถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ประเมินแผลก่อนใช้ยา             จะใช้ยาให้ถูกอาการ ก็ควรประเมินอาการให้ถูกก่อน ว่ามีความหนักหรือความรุนแรงอยู่ในระดับไหน โดยทางการแพทย์ แบ่งความหนักของแผลไว้ 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 1. แผลไหม้ระดับแรก ถือเป็นระดับที่เบาที่สุด เพราะแผลจะอยู่ที่ชั้นผิวหนังกำพร้าเท่านั้น มีเพียงรอยแดงและอาการปวดแสบปวดร้อน แต่ไม่มีตุ่มพองเกิดขึ้น ซึ่งอาการ Sun burn หรือผิวไหม้แดดก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 7 วัน โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ (ยกเว้นมีการติดเชื้อ) ด้วยยาทาแผลไฟไหม้ที่ทาเฉพาะภายนอก   2. แผลไหม้ระดับที่สอง                 มีทั้งชนิดตื้นที่เกิดกับหนังกำพร้าและหนังแท้ และชนิดลึกที่เกิดกับผิวชั้นลึกของหนังแท้ ซึ่งชนิดตื้นจะมีตุ่มพองเกิดขึ้น หากตุ่มลอกออกจะมีน้ำเหลืองซึมออกมา ทำให้ปวดแสบปวดร้อนได้ แต่ด้วยความที่แผลไม่ลึก จึงทำให้หายง่ายภายใน 2-3 สัปดาห์ และไม่ทิ้งแผลเป็น (ยกเว้นมีการติดเชื้อ) เหมาะกับการใช้ยาทาแผลไฟไหม้ที่ทาเฉพาะภายนอก ส่วนแผลชนิดลึกอาการจะตรงข้ามกับแผลชนิดตื้น คือ…